คุณอยู่ที่: หน้าแรก
สังคมและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
ภาคใต้
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ตำนานความกตัญญู ซื่อสัตย์ และรักษาคำมั่นสัญญา




รูปที่1 ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
เรื่องเล่าที่เล่าต่อกันมาถึงอภินิหารที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่ลิ้มกอเหนี่ยวผูกคอตาย ด้วยวิญญาณของลิ้มกอเหนี่ยวได้สิงสถิตอยู่ที่นั่น ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือได้รับความเดือดร้อนประการใด เมื่อไปบนบานที่นั่นก็จะหายเจ็บหายป่วยพ้นจากความเดือดร้อน ชาวบ้านทั่วไปจึงขนานนามใหม่ว่า เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวนับแต่นั้นมา และได้มีการจัดงานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ซึ่งเป็นงานใหญ่ของจังหวัดปัตตานีประจำทุกปี เมื่อถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนอ้าย ทิวแถวขบวนแห่เป็นแนวยาวด้วยความเคารพศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ พี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนทั่วสารทิศเข้าร่วมในพิธีสมโภชแห่แหนรูปสลักไม้มะม่วงหิมพานต์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว อัญเชิญจากศาลประทับสู่เกี้ยว มีการเชิดสิงโต ลุยไฟ และการแสดงอภินิหารต่างๆ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวอันเคารพศรัทธาของผู้คนที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย
รูปที่2 งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว แห่เจ้าแม่เดินลุยไฟ
บรรดาคนจีนสมัยนั้น ได้ทราบซึ้งถึงความกตัญญู ซื่อสัตย์ และรักษาคำมั่นสัญญา ไปกราบไหว้บูชาต่อมาฮวงซุ้ย และต้นมะม่วงหิมพานต์ ได้เกิดนิมิตรและอภินิหาร ให้ชาวบ้านที่ไปบนบาน หายเจ็บไข้ได้ป่วย และมีโชคลาภ ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง เป็นที่เคารพสักการะ มาจนบัดนี้ไม่ได้มีการย้ายฮวงซุ้ยแต่อย่างใด ต่อมาได้นำเอาต้นมะม่วงหิมพานต์ มาแกะสลักเป็นองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ประดิษฐานไว้ในศาลเจ้าที่บ้านกรือเซะ ตำบลตันหยงลุโล๊ะ ให้ประชาชนสักการะ บูชาด้วย
รูปที่3 สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
น้ำ ใ ส ด อ ท คอท จะนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง หรือ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี กำเนิดในครอบครัวตระกูลลิ่ม สมัยพระเจ้าซื่อจงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์เหม็ง ประมาณ พ.ศ.2065- 2109 มีพี่ชายชื่อ ลิ่มโต๊ะเคี่ยม รับราชการอยู่มณฑลฮกเกี้ยน เมื่อบิดาถึงแก่กรรมลิ้มกอเหนี่ยว ต้องเฝ้าดูแลมารดาเพียงลำพัง เนื่องจากลิ่มโต๊ะเคี่ยม ถูกขุนนางใส่ร้ายว่าสมคบกับโจรสลัดญี่ปุ่นเข้าปล้นตีเมืองตามชายฝั่ง จึงถูก ทางราชการประกาศจับ และได้หลบหนีออกจากประเทศจีนกับพรรคพวกไปอาศัยอยู่ที่เกาะไต้หวัน ต่อมาได้ นำสินค้ามาขายที่ประเทศไทย ขึ้นท่าสุดท้ายที่เมืองปัตตานี บ้านกรือเซะ และมีความรู้เป็นนายช่าง ผู้หล่อปืนใหญ่ 3กระบอก คือ ศรี นครี มหาลาลอ และนางพระยาตานี ให้เจ้าเมืองปัตตานี ขณะนั้นเป็นที่พอพระทัยมาก จึงยกพระธิดาให้สมรสด้วย โดยลิ้มโต๊ะเคี่ยม ยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม
มารดาของลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งอยู่ที่ประเทศจีนไม่เห็นบุตรชายกลับมาจากการค้าขายตามปกติ ก็มีความคิดถึงอีกทั้งเป็นห่วงจนไม่เป็นอันกินอันนอน ลิ้มกอเหนี่ยวกับน้องสาวอีกคนหนึ่งต่างก็มีความสงสารมารดา ประกอบกับความเป็นห่วงพี่ชายที่ไม่ส่งข่าวมาถึงทางบ้านเลย จึงรับอาสามารดาออกติดตามพี่ชายเพื่อจะพากลับบ้านให้ได้ โดยให้สัญญากับมารดาว่า ถ้าไม่สามารถพาพี่ชายกลับมาก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่ต่อไป ลิ้มกอเหนี่ยวกับน้องสาวได้คัดเลือกชายฉกรรจ์ที่มีฝีมือรบพุ่งในเชิงดาบจำนวนประมาณ ๗๐ คน ออกเดินทางโดยใช้เรือสำเภาติดตามมาจนถึงประเทศไทย โดยแวะที่ท่าเรือเมืองนครศรีธรรมราชเป็นแห่งแรก และได้สืบหาพี่ชายเรื่อยลงมาทางใต้จนถึงหน้าเมืองกรือเซะจึงได้ทอดสมอหยุดเรือที่อ่าวหน้าเมือง
รูปที่4 มัสยิดที่เกียวข้องกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2427 พระจีนคณานุรักษ์ (ตันจูล่าย) ซึ่งเป็นหัวหน้าชุมชนจีนขณะนั้น เห็นว่าศาลเจ้าซึ่งประดิษฐานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่หมู่บ้านกรือเซะ ชำรุดเก่าและอยู่ห่างไกลเป็นระยะทางถึงประมาณ 8กิโลเมตร จากเมือง จึงได้อัญเชิญองค์เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จากบ้านกรือเซะมาประดิษฐานที่ศาล เจ้าโจวซูกงซึ่งอยู่ในตลาดจีนเมืองปัตตานี และเรียกชื่อศาลเจ้าใหม่ว่า ศาลเจ้าเล่งจูเกียง หรือ ศาลเจ้าแม่ลิ่มกอเหนี่ยว มาจนทุกวันนี้