คุณอยู่ที่: หน้าแรก
คอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรม
การเขียนผังงาน ( Flowchart ) สัญลักษณ์ flowchart สัญลักษณ์ ผัง งาน



คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอนช่วยในการ เขียน flowchart รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เรามักจะพบว่าทุกๆกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้มีกระบวนการ (Process) ซึ่งเราสามารถที่จะใช้ผังงาน (Flowchart) อธิบายปะติปะต่อเหตุการณ์ต่างๆ แต่ไม่ถูกเสมอไป เรามักจะนำไปใช้ในกิจกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง ยิ่งเหตุการณ์มีความซับซ้อน ยุ่งยาก หลากหลายขั้นตอนและกระบวนการซึ่งบางครั้งเกินที่จะนำเสนอในรูปแบบอื่นได้ เราก็ใช้ผังงาน (Flowchart) นี่แหละอธิบายระบบงานทั้งหมด
รูปภาพแสดง สัญลักษณ์ flowchart
การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
อย่างแรกเลยที่เราต้องรู้จัก คือ Algorithm ก่อนที่จะเขียนผังงาน (Flowchart) ผู้อ่านจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับ Algorithm กันก่อน
Algorithm คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง อย่างเป็นขั้นเป็นตอนและ ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร เช่น เวลาเราจะเดินทางไปมหาลัย(เปรียบเสมือนปัญหา คือต้องการไปมหาลัย) ต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อจะไปถึงมหาลัย(ผลลัพธ์ ที่ต้องการ) ยกตัวอย่าง
วิธีที่ 1
1.นั่งรถสองแถวไปตลาดแอบปี้แลนด์
2.นั่งรถตู้ที่ตลาดแอบปี้แลนด์ไป มหาลัย
3.ถึงมหาลัย
วิธีที่ 2
1.เดินจากบ้านไปตลาดแอบปี้แลนด์
2.นั่งรถเมย์ไปมหาลัย
3.ถึงมหาลัย
วิธีที่ 3
1.นั่ง Taxi ไปมหาลัย
2.ถึงมหาลัย
จะสังเกตุได้ว่า ใน 1 ปัญหา มีวิธีแก้ไขหลายวิธี แต่ละคนอาจจะคิดวิธีแก้ไขปัญหา(Algorithm) แตกต่างกันออกไป
(จากตัวอย่างบางคนอาจจะอาศัยรถคนอื่นไปก็ได้จริงมั้ยค่ะ) เมื่อเรารู้จัก Algorithm แล้ว เราก็เอา Algorithm
ที่เราคิดได้ ไปเขียนเป็น Flowchart (ตามลำดับขั้นตอนของ Algorithm)
สัญลักษณ์(Symbol)
การเขียน Flowchart เบื้องต้นเราจะใช้สัญลักษณ์ดังต่อไปนี้ (ที่จริง มีเยอะค่ะแต่ใช้จริงๆ เบื้องต้น มีแค่นี้แหละ)
รูปแบบการเขียน Flowchart
การเขียนเราจะเขียนในลักษณะ Top-Down คือจากบนลงล่าง(Flow คือการไหล,Flowchart ก็คือ ผังงานการไหลของข้อมูล)
การเขียนมี 3 ลักษณะ คือ sequence(ตามลำดับ) selection(ทางเลือก/เงื่อนไข) iteration(ทำซ้ำ)
Sqquence(ตามลำดับ)
ตามชื่อเลยค่ะ เป็นการเขียนแบบไล่ทำไปทีละลำดับ ไม่มีแยก (เปรียบเสมือน ขับรถไป ไม่มีทางแยกให้เลี้ยวไปไหน)
ที่ใช้สัญลักษณ์ เพราะมันเป็นกระบวนการ(Process) จะเห็นว่ามันเป็นเพียงแค่ลำดับขั้นตอน ของการแก้ไขปัญหาแค่นั้นเอง (เพียงแต่เลือกใช้สัญลักษณ์ให้ถูก)
Selection(ทางเลือก/เงื่อนไข)
แล้วถ้ามีเงื่อนไข หรือ ทางเลือก ละ ประมาณว่า (สมมุตินะ) ถ้านั่งรถไปมีนบุรีแล้ว รถตู้เต็ม คนต่อแถวเยอะมากเลย
ไปเรียนไม่ทันแน่ๆ ก็ให้นั่ง Taxi (เห็นมั้ยว่ามันมีทางเลือกและ หรือเงื่อนไขนั่นเอง) เรามาดูแบบมีเงื่อนไขกัน
จะเห็นได้ว่าพอมีเงื่อนไข หรือ ทางเลือก เราจะใช้ สัญลักษณ์ ภายในเราก็จะเขียนเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ก็ ไปทำทางด้านจริง ถ้าไม่จริงก็ทำทางด้านไม่จริง เสมือนเราขับรถแล้วไปเจอทางแยก แต่ทางแยกนี้มันไปถึงที่หมายที่เดียวกัน ก็ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
Iteration(ทำซ้ำ)
อีกรูปแบบนึง คือ การทำซ้ำๆ เช่น เราอยากกินข้าว กินไปเรื่อยๆ ถ้าอิ่มก็กลับบ้าน ถ้าไม่อิ่มก็กินต่อ(เอาให้พุงแตกไปเลย)
ถ้าเราเข้าใจ Flowchart เราก็จะเขียนโปรแกรมออกมาได้ง่ายขึ้น เพราะเราจะรู้ step การทำงานว่าจะต้องไปทางไหนต่อทำอะไรต่อ ถึงแม้เหตุการณ์จะซับซ้อน ขัดแย้งกันในบ้างกระบวนการ ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น มองภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น พยายามทำความเข้าใจนะค่ะ ไม่ยาก
วิดีโอแนะนำการเขียนผังงาน
ขอบคุณ วิดีโอ แนะนำ การเขียนผังงาน ( Flowchart ) จาก youtube